Created By: Strisinan school
https://www.youtube.com/watch?v=pUAhw0NBDeM
ระวัติการทำงาน
ครูเริ่มหัดทำเครื่องเงิน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ ขณะนั้นอายุได้ ๑๗ ปี และได้ประกอบอาชีพการทำเครื่องเงินอย่างจริงจังใน พ.ศ.๒๔๙๘ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งครูได้เห็นมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งที่นี่ใช้เงินชนิดต่างๆ ทำเครื่องเงินชนิดต่างๆ ทำเครื่องเงิน เช่น เงินแถบ เงินหมันของฝรั่งเศส เหรียญสมัยรัชกาลที่ ๕ เหรียญ ๑๐ สตางค์ เหรียญสลึง
เริ่มเรียนแรกๆ หัดขึ้นรูป ตอนตีกับทั่งยากหน่อย ทำถูกบ้างไม่ถูกบ้าง เรียนแล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ ก็ชำนาญขึ้น แรกๆ ก็ตีให้แบนๆ การขึ้นรูปต้องค่อยๆ ซ้อม ก็จะตีได้ดีขึ้น ลายดอกกระถิน คือลายแรก ที่หัดทำ ทำดีบ้างไม่ดีบ้าง คนไม่เคยเห็นเขาก็ชอบก็มาซื้อไป ครั้งแรกที่เรียน ก็ทำพวก ขัน พาน กระบวย ขายตามบ้าน ลาย ๑๒ ราศี ตัวสัตว์ที่ยากที่สุด ต้องเปลี่ยนเหล็ก กลมหอก, กลมทู่, กลมกว้าง, กลมเล็ก ที่จะต้องใช้ทำลวดลายด้านนอก เครื่องมือโบราณที่ใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษไม่เคยเปลี่ยน?
สมัยที่ครูเรียนทำเครื่องเงินนั้นก็ไปเรียนกับช่างที่อยู่ในจังหวัดน่าน มีเพื่อนเรียนด้วยกันอีก ๒-๓ คน พอเรียนสำเร็จ ต่างคนก็ต่างมาประกอบอาชีพทำเครื่องเงิน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงครูบุญช่วยที่ยังคงทำอาชีพ ช่างสลุงเงินเท่านั้น
ประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินเมืองน่าน
ครูบุญช่วย หิรัญวิทย์ เล่าประวัติความเป็นมาของการทำเครื่องเงินเมืองน่าน ว่า เป็นอาชีพที่เกิดมาพร้อมกับการสร้างเมืองน่านขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นครน่านได้แผ่ขยายอาณาจักรตั้งแคว้นสิบสิงจุไทลงมา และได้กวาดต้อนเชลยที่เป็น ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างทองแดง จากเมืองฮ่อน้อย ฮ่อหลวง เมืองยอง และเชียงแสน เอามาไว้ในนครน่าน โดยช่างเงินได้จัดไว้ที่บ้านประตูปล่อง อ.เมืองน่าน และสืบเชื้อสายเป็นช่างเงินมาจนถึงทุกวันนี้ และบางส่วนมีเชื้อสายเป็นช่างเงินมาจนถึงทุกวันนี้ และบางส่วนมีเชื้อสายพม่าอยู่ได้นำศิลปะพม่าเข้ามาผสมผสาน แต่ไม่ค่อยมากนัก ส่วนใหญ่จะเข้ารับใช้ทำเครื่องเงินให้เจ้านาย บุตรหลาน คหบดีและท้าวขุน เท่านั้น พอหมดนายไป ช่างเงินก็เกือบจะไม่เหลือใครในนครน่าน
จะเห็นได้ว่าช่างเงินในเมืองน่านนั้น มีเชื้อสายจีน และได้นำเอาศิลปะของพม่ามาร่วมด้วย ในอดีตกาลที่ช่างเงินทำงานให้กับเจ้าขุนมูลนาย ทำให้เมื่อไม่มียุคเจ้านายและบ่าวไพร่แล้ว ช่างต่างๆ ก็ระหกระเหินไม่มีงานทำ บ้างก็เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น ส่วนที่ยังคงทำอาชีพช่าง ก็จะสืบทอดการทำเครื่องเงินให้รุ่นลูกหลานซึ่งก็มีน้อย ทำให้มีแหล่งผลิตเครื่องเงินสมัยนี้น้อยตามไปด้วย
This point of interest is part of the tour: Smart Silver Nan
Please send change requests to changerequest@pocketsights.com.